• Home
  • กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน

 กองทุนเงินทดแทน   เพื่อเป็นกองทุนในการจ่ายเงินทดแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้าง  ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาผลประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือเจ็บป่วยเป็นโรค ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง


กองทุนเงินทดแทน


เพื่อเป็นกองทุนในการจ่ายเงินทดแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้าง  ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาผลประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือเจ็บป่วยเป็นโรค ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง

ขอบเขตการบังคับใช้

ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป  มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุน

ลูกจ้าง

หมายถึง  ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร  แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงาน  เกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

การขึ้นทะเบียน

ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป  มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนภายใน  30 วัน

การเรียกเก็บเงินสมทบและการคำนวณเงินสมทบ

ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี

  1. เงินสมทบให้คำนวณจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปี คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี
  2. กำหนดอัตราเงินสมทบตามความเสี่ยงภัยของกิจการของนายจ้าง
  3. เมื่อชำระเงินสมทบติดต่อกัน 3 ปีที่ 4 จะคำนวณหาอัตราการสูญเสีย เพื่อหาค่าอัตราเงินสมทบตามประสบการณ์ และนำมาเรียกเก็บในปีที่ 5 หากนายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทำงานจะได้รับการลดอัตราเงินสมทบ หากไม่ดูแลเรื่องความปลอดภัยจะต้องถูกต้องเพิ่มอัตราเงินสมทบ   การเพิ่มหรือลดจะคิดเพิ่มลดจากอัตราเงินสมทบหลักของนายจ้าง
  4. นายจ้างที่ได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวด จะต้องจ่ายเงินฝากไว้จำนวนร้อยละ 25 ของเงินสมทบโดยประมาณทั้งปีภายในเดือนมกราคมและจ่ายเงินสมทบเป็นรายงวด 4 งวด ภายในเดือนเมษายน กรกฎาคม ตุลาคม และมกราคมของปีถัดไป
  5. ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีนายจ้างต้องแจ้งจำนวนค่าจ้างทั้งหมดของปีที่ล่วงมาแล้วที่จ่ายจริงให้แก่ลูกจ้างตามแบบที่กำหนดเพื่อคำนวณเงินสมทบที่ถูกต้องและนำส่งเงินสมทบที่ชำระต่ำไปภายในวันที่  31  มีนาคม ของทุกปี

 เงินเพิ่ม  นายจ้างที่ไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดหรือจ่ายไม่ครบ  ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 3 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ค้างชำระ

เงินเพิ่ม

นายจ้างที่ไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดหรือจ่ายไม่ครบ  ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 3 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ค้างชำระ

การคืนเงินนายจ้าง

นายจ้างที่จ่ายเงินสมทบ หรือเงินเพิ่มเกินกว่าความเป็นจริงจากสาเหตุต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้นายจ้างทราบ เพื่อมารับเงินส่วนที่เกินคืนไป

เงินทดแทน

สิทธิได้รับเงินทดแทนภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
กรณีที่การเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย


การอุทธรณ์

หมายถึง  เงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทนการทำงาน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและค่าทำศพ
 ค่าทดแทนมี  4  ประเภท :-      ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกันเกิน 3 วัน จากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย     ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย     ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ     ค่าทดแทนกรณีตายหรือสูญหาย

ค่าทดแทนมี  4  ประเภท :-

  • ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกันเกิน 3 วัน จากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย
  • ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ
  • ค่าทดแทนกรณีตายหรือสูญหาย

การอุทธรณ์
  1. นายจ้าง  ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิไม่พอใจคำสั่ง  คำวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบของเจ้าหน้าที่ ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนภาย 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง คำวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบ ยกเว้น คำสั่งกรณียึด อายัด และขาดทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้าง
  2. ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ถ้าไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดเวลา ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นที่สุด
  3. ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิหรือนายจ้างยื่นอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการกองทุนฯ

บทกำหนดโทษ

นายจ้างผู้ใด :-

1. ไม่จัดให้ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรยหรือเจ็บป่วยได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมหรือ

2. ไม่จัดการศพของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีผู้มาขอจัดการศพหรือ

3. ไม่ยื่นแบบลงทะเบียนจ่ายเงินสมทบแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้าง และจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบหรือ

4. ไม่แจ้งการประสบอันตรย เจ็บป่วย หรือสูญหายของลูกจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมตามแบบที่กำหนดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นายจ้างทราบ ให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. นายจ้างผู้ใดไม่จ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่  โดยไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์หรือไม่ได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดเวลา  ให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของนายจ้างที่พึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย  ซึ่งตนได้มาหรือล่วงรู้  เนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนนี้  ให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  เว้นแต่เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้  หรือเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองแรงงานหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี


ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม :-

 สั่งของคณะกรรมการกองทุน คณะกรรมการการพทย์ หรือคณะอนุกรรมการที่สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือคณะอนุกรรมการที่สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องชี้แจง หรือส่งเอกสารสิ่งของข้อมูลที่จำเป็นมาพิจารณา

คำสั่งของเจ้าหน้าที่ ที่มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา

ไม่อำนวยความสะดวกในการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในสถานประกอบการหรือที่ทำงานของลูกจ้างหรือการยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้ง  ให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนนี้  ถ้าเจ้าพนักงาน (เลขาธิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด) เห็นว่าผู้กระทำผิดไม่ควรได้รับโทษจำคุก หรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง  ให้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้  ทั้งนี้ตามข้อกำหนดในกฎหมาย

คลิกอ่าน >>> สิทธิประโยชน์วิธีการส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล
คลิกอ่าน >>>สิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล
คลิกอ่าน >>> หลักการปฏิบัติและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม