• Home
  • สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต - กองทุนประกันสังคม

สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต - กองทุนประกันสังคม

 สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต - กองทุนประกันสังคม   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ กรณีเสียชีวิต  1. กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย 2. สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตา


สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต - กองทุนประกันสังคม


หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ กรณีเสียชีวิต

1. กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
2. สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น ประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่        

    1.ค่าทำศพ 40,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ ใครคือผู้จัดการศพ
        (ก) บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
        (ข) สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
        (ค) บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน        

    2.เงินสงเคราะห์กรณีตาย

  • เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น  แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน ดังนี้
  • ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป  แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
  • ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตายได้แก่            บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน * กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพคืนได้ภายใน 2 ปี (ดูรายละเอียดในกรณีชราภาพ)



หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย

กรณีขอรับค่าทำศพ

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)    
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง    
  • หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ    
  • สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง    
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ 11 ธนาคาร ดังนี้
        ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)          
        ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)          
        ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด (มหาชน)          
        ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)           
        ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)           
        ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            
        ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)           
        ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย          
        ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (จำกัด)         
        ธนาคารออมสิน        
        ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 


กรณีขอรับเงินสงเคราะห์

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)     
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์     
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)     
  • สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร     
  • หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)

การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน

  • หนังสือมอบอำนาจ     
  • บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ     
  • หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม     
  • การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในการยื่นคำร้อง

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

  • ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน
  • เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
  • สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

พิจารณาสั่งจ่าย         

  • เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
  • ส่งธนาณัติให้ผู้มีสิทธิ
  • โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ข้างต้น


ที่มา ประกันสังคม