• Home
  • คำถามที่พบบ่อย บริษัท บัญชี ภาษี

คำถามที่พบบ่อย บริษัท บัญชี ภาษี

 คำถามที่พบบ่อย บริษัท บัญชี ภาษี   ถาม 1 : สินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรก หรือวันที่ได้มาไม่ได้ จะทําอย่างไร หากต้องการจะบันทึกเป็น สินทรัพย์ของกิจการ  ตอบ 1 : หากกิจการต้องการบันทึกสินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรกหรือวันที่ที่ซื้อสินทรัพย์ไม่ได้ กิจการควรเทียบราคากับสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน


คำถามที่พบบ่อย บริษัท บัญชี ภาษี


ถาม 1 : สินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรก หรือวันที่ได้มาไม่ได้ จะทําอย่างไร หากต้องการจะบันทึกเป็น สินทรัพย์ของกิจการ

ตอบ 1 : หากกิจการต้องการบันทึกสินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรกหรือวันที่ที่ซื้อสินทรัพย์ไม่ได้ กิจการควรเทียบราคากับสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน หรือให้ผู้ประเมินราคาอิสระทําการประเมินราคาแบบต้นทุนทดแทน หรือบริษัททําการประเมินเองตามวิธีหามูลค่าที่จะได้รับคืนจากการ ใช้สินทรัพย์ถาวรตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์


ถาม 2 : ในกรณีสินค้าคงเหลือเกินหรือขาดจากบัญชี เราในฐานะผู้ทําบัญชีควรจะดําเนินการอย่างไร ในทางด้านการบันทึกปรับปรุงบัญชีและด้าน Stock

ตอบ 2 : กรณีที่บริษัทมีสินค้าคงเหลือเกินหรือขาดจากบัญชี ผู้ทําบัญชีควรปรับปรุงบัญชีสินค้าดังกล่าวให้ถูกต้องตรงตามจํานวนสินค้าที่มีอยู่จริง ณ วันสิ้นปีการบัญชี นอกจากนี้บัตรคุมสินค้าก็ต้องปรับให้ถูกต้องตรงกับสินค้าตามที่มีอยู่จริงด้วย อนึ่ง รายการสินค้าคงเหลือสิ้นปีต่างจากความเป็นจริง รายการดังกล่าวย่อมกระทบกับ การคํานวณต้นทุนขายของบริษัทจึงควรปรับปรุงรายการสินค้าดังกล่าวในกําไรขาดทุนสะสม ต้นปีและกระทบยอดรายการสินค้าที่ปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของปีปัจจุบันเพื่อให้ จํานวนภาษีที่ต้องจ่ายถูกต้อง


ถาม 3 : ในกรณีที่บริษัทมียอดสินค้าคงเหลือตามบัญชีแต่ในความเป็นจริงไม่มีสินค้าคงเหลือแล้ว ซึ่ง เกิดจากการทําบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ควรจะมีการปรับปรุงอย่างไร จึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง

ตอบ 3 : บริษัทไม่มีสินค้าคงเหลือตามที่ปรากฎในบัญชีเพราะการบันทึกบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ใน กรณีนี้ บริษัทต้องปรับปรุงรายการสินค้าให้ถูกต้องตามความเป็นจริง โดยการปรับปรุงสินค้า และต้นทุนขาย ดังกล่าวกับบัญชีกําไรสะสมต้นปี แต่ปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของ ปีปัจจุบัน


ถาม 4 : บริษัทซื้อที่ดินไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีเอกสารหลักฐานในการซื้อครบถ่วน โดยซื้อในนามบริษัท แต่เจ้าของบริษัทไม่ได้เอาลงบัญชี ในการจัดทำงบการเงินรอบปี 2544 ได้จัดเอกสารดังกล่าวให้ ผู้สอบบัญชีเพื่อบันทึกที่ดินนั้นในบัญชี แต่ผู้สอบไม่ยอมให้ลงบัญชี ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ (ที่ผ่านมา 5 ปี บริษัทไม่มีรายรับ)

ตอบ 4 : บริษัทมีที่ดินพร้อมเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของในที่ดินผืนดังกล่าว บริษัทต้องการนําที่ดิน ดังกล่าวบันทึกในบัญชี ส่วนสําคัญคือ ต้องติดตามและบันทึกที่ดินให้ถูกต้องว่าใช้เงินของใครซื้อ การจัดทําบัญชีให้ถูกต้องเป็นหน้าที่และอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ผู้สอบบัญชีไม่มีสิทธิห้ามบริษัทนําที่ดินดังกล่าวมาบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง แต่มีหน้าที่รายงานจากผลการตรวจสอบบัญชีของบริษัทเท่านั้น


ถาม 5 : หากกิจการมีสินทรัพย์ที่อยู่นอกบัญชีและต้องการปรับปรุงบัญชี เอกสารที่ซื้อสินทรัพย์เป็นของปีก่อนๆ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้หรือไม่ และการตัดค่าเสื่อมราคาให้ตัดตั้งแต่วันที่ซื้อสินทรัพย์ตามเอกสารใช่หรือไม่

ตอบ 5 : บริษัทมีสินทรัพย์อยู่นอกบัญชีและต้องการบันทึกปรับปรุงให้ถูกต้องโดยใช้เอกสาร ประกอบรายการซื้อสินทรัพย์ในปีก่อน ๆ ถือเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้ สิ่งสําคัญคือ รายการสิน ทรัพย์นอกบัญชีต้องอยู่ในกรรมสิทธิของบริษัท ส่วนการคิดค่าเสื่อมให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่สินทรัพย์ ถูกใช้งาน ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่เริ่มใช้งานจนถึงวันสิ้นงวดรอบระยะเวลา บัญชีปีก่อนทางบัญชีจะปรับปรุงเข้ากําไรสะสมต้นปี ส่วนค่าเสื่อมของปีปัจจุบันให้ถือเป็นค่าใช้ จ่ายของปีปัจจุบัน แต่ค่าเสื่อมของปีก่อน ๆ ควรปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของปีปัจจุบันให้ถูกต้องด้วย


ถาม 6 : กรณีที่ทรัพย์สินของบริษัท เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ เกิดการชำรุดหรือเสียหาย บริษัทจะตัดบัญชีทรัพย์สินอย่างไร

ตอบ 6 : การตัดบัญชีทรัพย์สินกรณีที่ทรัพย์สินนั้นชำรุหรือเสียหายออกจากบัญชีต้องมีหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่ชัดเจนที่แสดงข้อมูลยืนยันถึงการชำรุดหรือเสียหาย ซึ่งหากมีหลักฐานยืนยันได้ว่าชำรุดหรือเสียหายให้บันทึกตัดบัญชีสินทรัพย์ตามราคาทุนที่บันทึกบัญชีไว้รวมทั้งโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ชำรุดนั้นออกทั้งหมด ผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นกำไร(ขาดทุน)จากการตัดบัญชีทรัพย์สิน


ถาม 7 :กิจการมีการเช่าช่วงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเวลา 30 ปี กิจการแสดงในงบการเงินภายในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และมีการทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายทุกๆปี และควรบันทึก,ปรับปรุงบัญชีอย่างไร

ตอบ 7 : ตอนจ่ายเงินเพื่อเช่าช่วงทรัพย์สิน ให้บันทึกบัญชีโดย เดบิต สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี (สินทรัพย์อื่น) และ เครดิต เงินสดหรือธนาคาร เมื่อถึง ณ วันสิ้นปี ทยอยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย โดย เดบิต สิทธิการเช่าตัดบัญชี(ค่าใช้จ่าย) และ เครดิต สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี


ถาม 8 :อยากทราบว่าเวลาที่บริษัทซื้อของตามจำนวนที่ผู้ขายกำหนดไว้แล้วจะมีการแถมของให้เช่นซื้อแอร์ครบ 7 เครื่องแล้วแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง (ระบุในใบกำกับภาษีว่าแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง)ไม่ทราบว่าโทรทัศน์ที่ได้แถมจะต้องรับรู้เป็นรายได้หรือสินทรัพย์

ตอบ 8 : โทรทัศน์ที่ได้แถมมานั้นจะต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ ซึ่งการตีราคาต้องใช้วิธีราคายุติธรรมในขณะนั้น โดยใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินทรัพย์แต่ละชนิด


ถาม 9 :หนี้สินที่เราสามารถประมาณค่าหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นได้แต่ยังไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และเมื่อไหร่ เราควรทำอย่างไร ควรจะบันทึกบัญชีหรือไม่ หรือควรจะเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบอย่างไร

ตอบ 9 : เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึง สภาพ หรือสถานการณ์ หรือเหตุการณ์บางอย่างอันอาจจะมีผลทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนแก่กิจการซึ่งผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในอนาคตว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ กิจการควรบันทึกบัญชี ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
           (1) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าผลเสียหายจะเกิดขึ้นในอนาคตและจะมีผลทำให้ สินทรัพย์ ณ วันที่ในงบดุลมีค่าลดลง หรือหนี้สินมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงส่วนที่อาจเรียกชดใช้คืนได้ด้วย และ
           (2) สามารถประมาณจำนวนเงินได้อย่างสมเหตุสมผล
           (3) ในกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไข ตาม (2) ก็ให้ปิดเผยผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไว้ในหมายเหตุประกบงบการเงิน เว้นแต่โอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนนั้นมีน้อยมาก
           (4) กิจการไม่ควรบันทึกบัญชีสำหรับผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า แต่ถ้ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่า ผลกำไรนั้นอาจจะเกิดขึ้นก็ให้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูล กรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ตาม (3) ถึง (4) ควรเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้
           - ลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
           - ปัจจัยของความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งอาจกระทบผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
           - ประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงิน หรือถ้าประมาณไม่ได้ก็ให้ระบุว่าไม่สามารถประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงินได้ ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่องเหตุการณที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน