• Home
  • ภ.ง.ด. 51 คืออะไร และผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51

ภ.ง.ด. 51 คืออะไร และผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51

ภงด 51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) หรือ อธิบายง่ายๆ ว่าการจ่ายภาษีนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากรก่อน สำหรับ กำไรในรอบ 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจึงคำนวณค่าภาษีอีกครั้งตอนสิ้นปี ในแบบ ภงด 50


ภ.ง.ด. 51 คืออะไร และผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51

ภงด 51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) หรือ อธิบายง่ายๆ ว่าการจ่ายภาษีนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากรก่อน สำหรับ กำไรในรอบ 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจึงคำนวณค่าภาษีอีกครั้งตอนสิ้นปี ในแบบ ภงด 50

กำหนดเวลา สถานที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษี

ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีต่อเจ้าพนักงาน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่


ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 คือใครบ้าง

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

2. บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เสียภาษีจากกำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก



วิธีการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 มีสองวิธี คือ

1. กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี ใช้กับ บริษัทฯ ทั่วไป กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ SME STart Up (ส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้)


ตัวอย่างที่ 1 การกรอกแบบ ภ.ง.ด.51
การคำนวณฐานภาษีกรณีเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ


ตัวอย่างที่ 1 การกรอกแบบ ภ.ง.ด.51 การคำนวณฐานภาษีกรณีเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ

2. กำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก ใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้

• บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย


• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประกาศอธิบดีกรมกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย


ตัวอย่างที่ 2 การกรอกแบบ ภ.ง.ด.51
การคำนวณฐานภาษีกรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก


ตัวอย่างที่ 2 การกรอกแบบ ภ.ง.ด.51 การคำนวณฐานภาษีกรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก

ตัวอย่างที่ 2 การกรอกแบบ ภ.ง.ด.51 การคำนวณฐานภาษีกรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก

ค่าปรับกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 พ้นกำหนดระยะเวลา

ค่าปรับอาญา – กรณี
ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท
ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท


เงินเพิ่ม – กรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระ จะมีภาระ “เงินเพิ่ม” โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
1) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
2) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
3) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไปให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี



ค่าปรับกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 พ้นกำหนดระยะเวลา ค่าปรับอาญา – กรณี  ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท

ข้อระวังสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51

1. กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด

2. กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากกำไรสุทธิจริง โดยยื่นรายการและชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชำระขาดไป ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด

3. กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ยื่นภายในกำหนด เวลาและมีภาษีต้องเสีย ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

4. กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ยื่นภายในกำหนด เวลาเว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทอีกด้วย

5. เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมยื่นบัญชีโดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร แล้วแต่กรณี ตรวจสอบและรับรอง ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) โดยนำภาษีที่ชำระไว้ตาม ภ.ง.ด.51 มาหักออกก่อน

ข้อระวังสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 1. กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด