• Home
  • การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

 การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด   การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทําการค้าร่วมกัน โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกําไรจากการดําเนินกิจการค้านั้น



การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด


การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทําการค้าร่วมกัน โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกําไรจากการดําเนินกิจการค้านั้น

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจํากัดแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ทําความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสําคัญ ๆ

ห้างหุ้นส่วนจํากัดเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป็องกันปัญหาความขัดแย่งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทําความตกลงกันใน เรื่องสําคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน

1. จํานวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะนํามาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วน สามารถลงทุนด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้(ยกเว้นหุ้นส่วนจํากัดความรับผิดจะลงทุนด้วย แรงงานไม่ได้) 

แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจํานวนเงินและกําหนด ระยะเวลาชําระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนํา มาลงทุน ซึ่งควรชําระให้ครบก่อนการจดทะเบียน จัดตั้งห้างหุ้นส่วน

2. กําหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจํากัดจะประกอบกิจการ หรือที่ เรียกว่า “วัตถุ ที่ประสงค์” ในปัจจุบันส่วนมากจะกําหนดวัตถุประสงค์ไว้หลาย ๆ กิจการ เพื่อความคล้องตัวในการเพิ่มหรือ ปรับเปลี่ยนกิจการค้า 

จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการดําเนินการจดทะเบียนเพิ่ม หรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์แต่ การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นหลาย ๆ กิจการ 

นั้นอาจไม่เป็นผลดีเนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัด และให้อํานาจกว้างขวางมากเกินไป

3. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอํานาจกระทําการแทนห้างหุ้นส่วนจํากัด ซึ่งต้อง แต่งตั้งจากหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดเท่านั้น)

4. การแบ่งส่วนผลกําไรและขาดทุน

5. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม สถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้ง สํานักงานแห่งใหญ่ ข้อจํากัดในการใช้อํานาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้ชําระบัญชีเป็นต้น


ขั้นตอนที่ 2 ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจํากัด

ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด และบริษัทมหาชนจํากัดเป็นจํานวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อ ที่คล้ายหรือซ้ำกัน 

ให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ตรวจสอบชื่อที่ต้องการจอง ว่า ชื่อดังกล่าวต้องไม่เหมือน หรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายคลึงกันกับชื่อที่ได้จองหรือได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว 

หรือขัดระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนบริษัท (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ข้อ 38 (1) – (11) ด้วยตนเองและนําใบแจ้งผลการจองชื่อไป ประกอบการขอจดทะเบียนต่อไป


ขั้นตอนที่ 3 จัดทําคําขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ

เมื่อได้จองชื่อแล้ว ให้ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทําตราสําคัญของห้างหุ้นส่วน กรอกรายละเอียด (โดย วิธีการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์) 

ในแบบพิมพ์คําขอจดทะเบียนให้ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คําขอจดทะเบียน


ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียน

การยื่นขอจดทะเบียนทําได้2 วิธีคือ
1.ยื่นคําขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่นขอจด ทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอํานาจให้ผู้อื่นไปดําเนินการแทนก็ได้

2.ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคําขอจด ทะเบียนก่อน และเมื่อผ่านการตรวจและตอบรับว่าคําขอจดทะเบียนถูกต้องแล้วให้ผู้ขอ จดทะเบียนสั่งพิมพ์ (print out) 

เอกสารคําขอจดทะเบียนดังกล่าวให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อและประทับตราสําคัญของห้างหุ้นส่วน หลังจากนั้นก็นําไปยื่นขอจดทะเบียนที่สานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือส่งทางไปรษณีย์ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีความรวดเร็วกว่ากรณีการยื่นขอจดทะเบียนตามข้อ 1. มาก 

เนื่องจากนายทะเบียนจะตรวจเอกสาร คําขอจดทะเบียนที่นามายื่นนั้นว่ามีข้อความถูกต้องตรงกับที่ยื่นไว้ทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่เท่านั้น


ข้อมูลที่ใช้

1.ชื่อของห้างหุ้นส่วน

2.วัตถุประสงค์ของห้าง

3.ที่ตั้งสานักงานแห่งใหญ่และ/หรือสาขา

4.ชื่อ ที่อยู่อายุสัญชาติและสิ่งที่นํามาลงหุ้น

5.ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จํากัดความรับผิด) กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทุกคน

6.ข้อจํากัดอํานาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)

7.ตราสําคัญของห้าง 

8.รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบ (ถ้ามี)


เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน

ในการขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
1.คําขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (แบบ หส. 1)

2.แบบคํารับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

3.รายการจดทะเบียน (แบบ หส.2) /ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้เฉพาะหน้า 1 และ 3

4.วัตถุประสงค์(แบบ ว.)

5.แบบ สสช. 1 จานวน 1 ฉบับ

6.แบบจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่เกินกําหนด

7.แผนที่แสดงที่ตั้งสานักงานแห่งใหญ่ และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

8.สําเนาหลักฐานการรับชําระเงินลงหุ้นที่ห้างหุ้นส่วนได้ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน

9.กรณีห้างหุ้นส่วนมีผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนไม่ถึงร้อยละ 50ของเงินลงหุ้น ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคําขอจดทะเบียน 

โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจํานวนเงินที่สอดคล้องกับจํานวนเงินที่นํามาลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละราย

10. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน 

11.สําเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

12.หนังสือมอบอํานาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอํานาจ ให้บุคคลอื่นดําเนินการแทนโดยทําหนังสือมอบอํานาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)

ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า