• Home
  • ภ.ง.ด. 53 คือ อะไร

ภ.ง.ด. 53 คือ อะไร

 ภ.ง.ด.53 คือ อะไร  ภ.ง.ด.53 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิและการเสียภาษีตามมาตรา 65 จัตวาแห่งประมวลรัษฎากร

ภ.ง.ด.53 คือ อะไร

ภ.ง.ด.53 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิและการเสียภาษีตามมาตรา 65 จัตวาแห่งประมวลรัษฎากร

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และวิธีคํานวณ ภ.ง.ด.53

1. รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครั้งหนึ่งๆ ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

หมายเหตุ  ให้องค์การของรัฐบาลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าฯซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้แบบ ภ.ง.ด.53 ยื่นรายการ พร้อมกับชําระภาษีได้โดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามวิธีการ อัตรา และประเภทสินค้าที่กําหนดในกฎกระทรวง

2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ดังต่อไปนี้
2.1 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
 (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ3.0
 (ข) มูลนิธิหรือสมาคม(ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47(7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร) ให้คําานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ10.0

2.2 ค่าเช่าหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร (ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือน ที่ได้รับกรรมสิทธิ์และเงินค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง) ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
 (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0
        กรณีจ่ายค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชย์นาวี ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
 (ข) มูลนิธิหรือสมาคม(ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดฯ)  ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ10.0

2.3 เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
 (ก) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตรา ร้อยละ 3.0
 (ข) มูลนิธิหรือสมาคม0(ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดฯ) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ10.0

2.4 ค่าจ้างทําของ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
 (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ3.0
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
2.5 ค่าโฆษณา ให้แก่ผู้รับที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0
 

 ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และวิธีคํานวณ ภ.ง.ด.53  1. รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครั้งหนึ่งๆ ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0


2.6 เงินได้พึงประเมินสําหรับการซื้อสินค้าประเภทยางแผ่น มันสำปะหลังปอ ข้าว ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.75
กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร(ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์) หากมีการจ่ายเงินได้ตามที่กล่าวข้างต้นให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้คํานวณหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 0.75 ด้วยเช่นเดียวกัน
 2.7 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการ นอกเหนือจาก (4)(5) (9) และ (10)(ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการของโรงแรมหรือภัตตาคาร ค่าเบี้ยประกันชีวิต) ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

2.8 รางวัล  ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ     เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมหรือผู้ได้รับเงินได้ที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ซึ่งได้แก่ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการที่นําาสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง)  ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 
2.9 เงินค่าเบี้ยประกันวินาศภัยให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
2.10 ค่าขนส่ง(ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสําหรับการขนส่งสาธารณะ)ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย(ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

3. ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
  (1)บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย(ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทฯ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์)ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
  (2)มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดฯ) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0


  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น(ไม่รวมถึงผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม 3.) ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  40 (4) (ก)  แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตรดอกเบี้ยหุ้นกู้ ให้แก่ ผู้รับธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทฯ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ให้คํานวณหักไว้ ในอัตราร้อยละ1.0

 5. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น(ไม่รวมถึงผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม 3.) ซึ่งเป็นผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็น ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่อยู่ในบังคับ ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะ ส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายดังกล่าว ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือ นิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก และจําหน่ายครั้งแรกในราคาตํ่ากว่าราคาไถ่ถอน ให้แก่ ผู้รับ ซึ่งเป็น
 (1) บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์และบริษัทฯ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ )  ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
 (2 ) มูลนิธิ หรือ สมาคม ที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ (ไม่รวมถึง มูลนิธิหรือ สมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดฯ) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0


6. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกองทุนรวมสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม (ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า) ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกําไรหรือประโยชน์อื่นใดตามมาตรา 40(4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย (ไม่รวมถึง บริษัทจดทะเบียน  และบริษัทจำกัดซึ่งถือหุ้นในบริษัทจํากัด ผู้จ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25  ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจํากัด ผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจํากัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจํากัดผู้รับเงินปันผล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม)  ให้คํานวณหักไว้ในอัตรา ร้อยละ 10.0

7. บุคคล บริษัท  หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  หรือ นิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล  ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  (1) เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8)  แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็น รางวัลในการประกวด การแข่งขันการชิงโชค  หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน  ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 
(2) ค่าจ้างทําของ ให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย  โดยมิได้มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่ เป็นการถาวรในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตรา ร้อยละ 5.0

 8. การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม 2. ถึง 7.  ต้องมีจํานวน ตามสัญญารายหนึ่งๆ ตั้งแต่  1,000  บาท ขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 1,000 บาท
หมายเหตุ กรณียื่นเพิ่มเติม ให้กรอกเฉพาะรายการและจําานวนเงินที่แสดงไว้ขาดและหรือแสดงไว้เกินไปเท่านั้น

สถานที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 และกําหนดเวลาในการนําเงินภาษีส่ง

ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภ.ง.ด.53  แสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย   พร้อมกับนําเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย  มีสํานักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน

ที่มา : กรมสรรพากร