• Home
  • แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 คืออะไร

แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 คืออะไร

ภ.ง.ด.1 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสําาหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา50 (1) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) (2)แห่งประมวลรัษฎากร

แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 คืออะไร

ภ.ง.ด.1 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสําาหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา50 (1) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) (2)แห่งประมวลรัษฎากร

1.ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่ เงินได้ตามประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึง เงินค่าภาษีอากรของเงินได้ดังกล่าวที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ไม่ว่าในทอดใด

1.1 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้านเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

1.2  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชําระหนี้ใดๆซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทํางานให้นั้น  ไม่ว่าหน้าที่หรือตําแหน่งงานหรือ งานที่รับทําให้นั้นจะเป็นการประจําหรือชั่วคราว


2. วิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

2.1 ให้คำนวณเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีโดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
(ก)  กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน  ให้คูณด้วย 12
(ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง  ให้คูณด้วย 24
(ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์  ให้คูณด้วย  52


ภ.ง.ด.1 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสําาหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา50 (1) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) (2)แห่งประมวลรัษฎากร

การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทํางานระหว่างปีให้คูณเงิน ได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวด้วยจํานวนที่จะต้องจ่ายจริงสําหรับปีนั้น เช่น เข้าทำงานในวันที่ 1  เมษายน และกําหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จํานวนคราวที่จะต้องจ่ายสําาหรับปีที่เข้าทํางานจะเท่ากับ 9  เป็นต้น

2.2  ให้นําจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม  2.1 มาคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากรกล่าวคือนำมาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคํานวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นการคํานวณหักค่าลดหย่อน ให้คํานวณตามที่ผู้มีเงินได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสําเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน ล.ย.01 ทั้งนี้ให้คํานวณหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม เว้นแต่ค่าลดหย่อนของเงินบริจาค ให้คํานวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้นกรณีผู้มีเงินได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปีให้คํานวณหัก ค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น

2.3  ให้นําจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คํานวณได้ตาม 2.2 มาหารด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม 2.1  ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้นถ้าการหารด้วยจํานวนคราวไม่ลงตัวเหลือเศษเท่าใด ให้เพิ่มเงินเท่าจํานวน ที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักไว้รวมกันเท่ากับจํานวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี

2.4 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจํานวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปีภาษี ให้คํานวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราวตามที่กล่าวใน 2.1 - 2.3

2.5 กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส  ให้นําเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจํานวนเงินพิเศษ เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นํามารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คํานวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคํานวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวใน 2.2  เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นําภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วนํามารวมกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น

2.6  กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้อง จ่ายต่อปี ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีนําส่งไว้เท่านั้น หากคํานวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับ รายเดียวกันนี้อีก ให้นําเงินได้พึงประเมินที่จ่ายครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับ

การคำนวณครั้งแรก หากคํานวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้นําเงินภาษีที่หักและนําส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออกเหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนําส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

2.7 กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสําหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นําเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้าง ต้องออกแทนให้อีก (อาจต้องคํานวณหลายครั้ง)

2.8  กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสําหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจํานวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจํานวนภาษีที่จะต้องชําระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (คํานวณสองครั้ง)

2.9  การคํานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเงินภาษีที่ต้องหักไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้น ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักเมื่อรวมกันแล้วเท่ากับจํานวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น โดยนําจำนวนภาษีที่ได้หักและนําส่งไว้แล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้หักและนําส่งไว้เท่านั้น

2.10 การคํานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคํานวณภาษีเพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดง โดยนําเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อนๆ มารวม หรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้ายนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้หักและนําส่งไว้เท่านั้น

2.11  การคํานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนอื่นนอกจากกรณี 2.9 และ 2.10 ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังคงต้องคํานวณภาษีและหัก ณ ที่จ่าย ตามที่กล่าวใน 2.1 ถึง 2.8

2.12 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ตามกล่าวใน 1.2 ให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย(อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมกันไม่ถึง 180 วัน ในปีภาษี) ให้คํานวณหักในอัตรา ร้อยละ15.0 ของเงินได้ที่จ่ายแต่ละคราว


หมายเหตุ กรณียื่นเพิ่มเติม ให้กรอกเฉพาะรายการและจํานวนเงินที่แสดงไว้ขาดและหรือแสดงไว้เกินไปเท่านั้น


3. สถานที่ยื่นแบบ และกําหนดเวลาในการนําเงินภาษีส่ง

ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 แสดงรายการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย พร้อมกับนำเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ก็ตาม ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสํานักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน


4. ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

4.1 ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนําส่ง หรือได้หักและนําเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชําระตามจํานวนเงินภาษีที่มิได้หักและนําส่ง หรือตามจํานวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่ต้องชำระเงินภาษีเท่าจํานวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชําระภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)

4.2   ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นําเงินภาษีส่งภายในกําหนดเวลาตาม 3. จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนําส่ง ทั้งนี้ ให้คํานวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือน ให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนําส่งภาษี (มาตรา 27แห่งประมวลรัษฎากร)ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกําหนดเวลาตาม 3. เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท(มาตรา 35 แห่งประมวล รัษฎากร)

4.3 ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษ     จําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) 

ที่มา กรมสรรพากร