• Home
  • ภ.พ.36 คืออะไร ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 คือใคร

ภ.พ.36 คืออะไร ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 คือใคร


ภ.พ.36 คืออะไร ภ.พ.36 คือแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

ภ.พ.36 คืออะไร ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 คือใคร


ภ.พ.36 คือแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร


ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36


1. ผู้จ่ายเงินซึ่งจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่
(ก) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบ กิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ
(ข) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร หรือ
(ค) ผู้ประกอบการอื่นตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา(ปัจจุบันยังไม่กําหนด)


2. ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ได้แก่ การรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้มี การขายหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษ ของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่  สถานกงสุลทั้งนี้  เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการดังกล่าวที่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด

3. ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือส่วนราชการ ซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด

กําหนดเวลา สถานที่ยื่นแบบและนําส่งเงินภาษี   


ให้ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษียื่นแบบ ภ.พ.36 พร้อมทั้งนําส่งภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีมีภูมิลําเนา หรือสํานักงานตั้งอยู่ภายในกําหนดเวลาดังนี้   1. กรณีเป็นผู้จ่ายเงินฯ ตาม (1) หรือเป็นผู้ทอดตลาดฯ ตาม (3)ให้นําส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน  นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ ผู้ประกอบการตาม 

(1)  หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ จดทะเบียนตาม (3)  แล้วแต่กรณี 2.กรณีเป็นผู้รับโอนสินค้าหรือเป็นผู้รับโอนสิทธิในบริการตาม 


(2)ให้นําส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิิ้นเดือนของเดือนที่ครบกําหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่่าเพิ่มเกิดขึ้น   


ในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับมากกว่า 1 ราย หรือ จ่ายเงินได้พึงประเมินมากกว่า 1 ประเภท ให้แยกยื่นแบบ ภ.พ.36 แยกเป็นแต่ละรายผู้รับ และหรือแยกเป็นแต่ละรายประเภทการจ่ายเงิน แล้วแต่กรณี


การคํานวณภาษี 


1. จํานวนเงินที่จ่าย  ให้กรอกจํานวนเงินที่จ่ายจริง หรือราคาขาย ทอดตลาดแล้วแต่กรณี 
2. จํานวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนําส่ง ให้กรอกจํานวนเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนําส่ง 

กรณีนําส่งภาษีเกินกําหนดเวลาหรือไม่ถูกต้อง

3. เงินเพิ่ม ในกรณีผู้นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มมิได้นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในเวลาที่กําหนด จะต้องคํานวณและชําระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนําส่ง ทั้งนี้ ให้คํานวณ เงินเพิ่มเป็นรายเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดเวลายื่นแบบ ภ.พ.36 นําส่ง ภาษีของเดือนภาษีนั้น จนถึงวันยื่นแบบ ภ.พ.36 และนําส่งภาษี 


4. เบี้ยปรับ (ถ้ามี) กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิใน บริการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.36 ภายในเวลาที่กําหนด จะต้องคํานวณและชําระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ2 เท่า ของเงินภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งเบี้ยปรับดังกล่าวอาจขอลดได้ตาม ระเบียบที่อธิบดีกําหนด ให้กรอกจํานวนที่ขอลดได้แล้วตามระเบียบฯ

แบบ ภ.พ.36 ที่ผู้ประกอบการยื่นเกินกําหนดเวลาหรือยื่นเพิ่มเติม ถือเป็นคําร้องขอลดเบี้ยปรับด้วย ผู้นําส่งภาษีจะได้รับอนุมัติให้ลดเบี้ยปรับ ตามระเบียบฯ ในทันทีที่ยื่นแบบ ภ.พ.36

5. รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนําส่ง เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ (2.+3.+4.) ให้กรอกจํานวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนําส่งตาม 2. เงินเพิ่มตาม 3. และเบี้ยปรับ (ถ้ามี) ตาม 4.  

ให้ผู้นําส่งภาษีลงลายมือชื่อ และในกรณีเป็นนิติบุคคลให้ประทับตรา นิติบุคคล (ถ้ามี) ด้วย พร้อมทั้งกรอกวันเดือนปีที่ยื่นแบบฯ


ภ.พ.36 คืออะไร ภ.พ.36 คือแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

ที่มา กรมสรรพากร