• Home
  • ภ.ง.ด.3 คืออะไร ใครมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3

ภ.ง.ด.3 คืออะไร ใครมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3

ภ.ง.ด.3 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสําหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา3 เตรส และมาตรา 50 (3) (4) (5) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8)และเสียภาษีตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร



ภ.ง.ด.3 คืออะไร


ภ.ง.ด.3 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสําหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 50 (3) (4) (5) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) และเสียภาษีตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

1. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย


ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร

1.1 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (5) ได้แก่ เงิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

1.2 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมายการประกอบโรคศิลปะวิศวกรรมสถาปัตยกรรมการบัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดชนิดไว้

1.3 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสําคัญนอกจากเครื่องมือ

1.4 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ    การพาณิชย์การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ได้ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว   

เงินได้พึงประเมินดังกล่าวข้างต้น ให้รวมถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ไม่ว่าในทอดใด

หมายเหตุ  ให้องค์การของรัฐบาลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าฯซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช้แบบ ภ.ง.ด.3 นี้ ยื่นรายการพร้อมกับชําาระภาษี ได้โดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามวิธีการ อัตรา และประเภทสินค้าที่กําหนดในกฎกระทรวง


2.วิธีคํานวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 


ให้คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วแต่กรณีดังนี้
2.1 บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือ คณะบุคคล ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) และ  (6) ให้แก่ผู้รับที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 15.0


2.2 รัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารายหนึ่งๆ    มีจํานวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป   แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง10,000 บาทก็ตาม   


ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0 เว้นแต่ เงินได้ในการประกวดหรือแข่งขันให้คํานวณหักตามอัตราภาษีเงินได้


2.3 บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ (เฉพาะกรณีการจ่ายเงินตามสัญญารายหนึ่งๆ ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป)ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


(1) ค่าเช่า หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร (ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 


กรณีจ่ายค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชย์นาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0


(2) เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6)  แห่งประมวลรัษฎากรเฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทยให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0


(3) ค่าจ้างทําของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ3.0
(4) ค่าโฆษณา ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0


(5) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการ นอกเหนือจาก (3) (4) และ  (7) (ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการของโรงแรมหรือภัตตาคาร) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0


(6) รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย(ไม่รวมถึงการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งได้แก่ ผู้บริโภคโดยตรงที่มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนําไปขายต่อ หรือผู้ประกอบการที่นําสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง) ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ3.0


(7) ค่าขนส่ง(ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสําหรับการขนส่งสาธารณะ)ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

2.4 บุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้  (เฉพาะกรณีการจ่ายเงินตามสัญญารายหนึ่งๆ ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป)


(1) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0


(2) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นนักแสดงสาธารณะ ได้แก่  นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม ให้คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้


(ก) กรณีผู้มีเงินได้มีภูมิลําเนาอยู่ในต่างประเทศ  ให้คํานวณหักตามอัตราภาษีเงินได้


(ข) กรณีผู้มีเงินได้มีภูมิลําเนาอยู่ในต่างประเทศที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ เฉพาะกรณีที่มีการดําเนินการถ่ายทําในประเทศไทยโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้ถ่ายทําในประเทศไทยจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคําขอถ่ายทําภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0


(ค) กรณีผู้มีเงินได้มีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย ให้คํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0


หมายเหตุ กรณียื่นเพิ่มเติม ให้กรอกเฉพาะรายการและจํานวนเงินที่แสดง ไว้ขาดและหรือแสดงไว้เกินไป


3. สถานที่ยื่นแบบและกําหนดเวลาในการนําเงินภาษีส่ง


ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ  ที่จ่าย  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 แสดงรายการหักภาษีเงินได้ ณ  ที่จ่าย  พร้อมกับนําเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน  70 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ก็ตาม ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสํานักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน


4. ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย


4.1 ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ  ที่จ่ายมิได้หักและนําส่ง หรือได้หักและนําเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชําระตามจํานวนเงินภาษีที่มิได้หักและนําส่งหรือตามจํานวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณีในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว 

ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความ รับผิดที่ต้องชําระเงินภาษีเท่าจํานวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชําระภาษีจํานวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว (มาตรา054 แห่งประมวลรัษฎากร)


4.2 ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ  ที่จ่าย   ไม่นําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักนําส่งภายในกําหนดเวลาตาม 3.0 จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนําส่ง  ทั้งนี้  


ให้คํานวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกําหนดเวลายื่นแบบฯจนถึงวันยื่นแบบฯ และนําส่งภาษี (มาตรา 27แห่งประมวลรัษฎากร)ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ  ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกําหนดเวลาตาม 3. เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท(มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร)


4.3 ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ(มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)


ภ.ง.ด.3 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสําหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา3 เตรส และมาตรา 50 (3) (4) (5) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8)และเสียภาษีตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร