• Home
  • ยื่นภาษี บุคคลธรรมดา หักค่าลดหย่อน และยกเว้น อะไรได้บ้าง

ยื่นภาษี บุคคลธรรมดา หักค่าลดหย่อน และยกเว้น อะไรได้บ้าง

 

ยื่นภาษี บุคคลธรรมดา หักค่าลดหย่อน และยกเว้น อะไรได้บ้าง.png

ค่าลดหย่อน และยกเว้นเป็นอีกหน่ึง องค์ประกอบในการ คำนวณภาษี กฎหมายกาหนดให้นาไปหักออกจากเงินได้ ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป สรุปได้ดังนี้
2. คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
3. ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ไม่เกิน 120,000 บาท
4. บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท (บุตรชอบด้วยกฎหมายหักได้ไม่จำกัดจำนวน หากนำบุตรบุญธรรมมาหักรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน)
5. ค่าอุปการะเลี่ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี่ยงดูของผู้มีเงินได้ โดย บิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีท่ีขอหักลดหย่อนไมเ่กิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาทและสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
6. ค่าอุปการะเลี่ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ หักค่าลดหย่อน คนละ 60,000 บาท
7. ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีข้ึนไป)
ของผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ สาหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ท้ังนี้ หากคู่สมรสมีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยา ได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สำหรับ เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงิน ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแตไ่มเ่กิน 10,000 บาท

แต่หากสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยาไม่ได้มีอยู่ตลอดปีภาษีท่ีได้รับ ยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับ ยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่ไมเ่กิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของ แต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยี่นรายการและเสีย ภาษีต่างหาก จากสามีตามมาตรา 57 เบญจแห่งประมวลรัษฎากร ให้สามี และภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคน หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แหง่ ประมวลรัษฎากรแล้ว

(ค) ถ้าความเป้น สามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้น ภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหาก จากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้น ภาษีตามจานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกิน เงินได้พึงประเมิน ของแต่ละคน หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่ง ประมวลรัษฎากรแล้ว


8. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ และคู่สมรส
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่าย จริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มี เงิน ได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ เกิน 30,000 บาท

9. เงินสะสมท่ีจ่ายเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ
หักลดหย่อนได้ตามจานวนที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน 10,000 บาทส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ซึ่งไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างให้หักจากเงินได้

10. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลื้ยงชีพ (RMF)
ได้รับยกเว้นเท่าท่ีจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อ รวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบานาญ เงินสะสมเข้ากองทุน สารองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบาเหน็จบานาญ ข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินสะสมเข้ากองทุนการออม แห่งชาติแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

11. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบานาญ
หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ท่ีนามาเสียภาษี เงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี

ทั้งนี้ ต้องเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบานาญ ความคุ้มครอง ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลประโยชน์เงินบำ นาญเมื่อผู้มีเงินได้ อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปถึงอายุ 85 ปีหรือกว่านั้นและเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เงินสะสมเข้ากองทุน สงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เงินที่ซื้อหน่วยลงทุน ในกองทนุ รวมเพื่อการเลี่ยงชีพ (RMF) และเงินสะสมเข้ากองทุน การออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

12. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ
ตามจานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และ เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบานาญ เงินสะสมเข้า กองทุนสารองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบาเหน็จบานาญ ข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทนุ สงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชน และเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีน้ัน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และต้องถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมระยะยาว (LTF) ต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีป ฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนรวมหุ้นระยะยาว เพราะทุพพลภาพหรือตาย

14. ดอกเบี้ยกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อเช่าซื้อหรือสร้างอาคารอยู่อาศัยโดยจำ นองอาคาร ที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืม หักค่าลดหย่อน ตามจานวนเท่าท่ีจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

15. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักค่าลดหย่อนเท่าท่ีจ่ายจริง

16. ค่าเบี่ยประกันสขุภาพ
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
แต่เมื่อรวมเบื่ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

17. เงินบริจาค
เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาการกีฬาและอื่นๆหักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ
เงินบริจาค หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

ยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท สาหรับ
1. ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นคนพิการและมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ 
2. ผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป



กรณีห้างหุ้นส่วนสํามัญท่ีไม่ใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลท่ีไม่ใช่นิติบุคคล

หักค่าลดหย่อนไดค้นละ 60,000 บาท แตร่วมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา
หักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อย ละ 10 ของ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

2. เงินบริจา
หักได้เท่าท่ีจ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน


กรณีกองมรดกท่ียังไม่ได้แบ่ง

หักค่าลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา
หักได้ 2 เท่าของที่จ่าย จริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

2. เงินบริจาค
หักได้เท่าท่ีจ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน